หน่วยความจำแบบรอม (ROM) 2


ROM การนำเสนอ


รอม (ROM: Read-only Memory หน่วยความจำอ่านอย่างเดียว) เป็นหน่วยความจำแบบสารกึ่งตัวนำชั่วคราวชนิดอ่านได้อย่างเดียว ใช้เป็นสื่อบันทึกในคอมพิวเตอร์ เพราะไม่สามารถบันทึกซ้ำได้ (อย่างง่ายๆ) เป็นหน่วยความจำที่มีซอฟต์แวร์หรือข้อมูลอยู่แล้ว และพร้อมที่จะนำมาต่อกับไมโครโพรเซสเซอร์ได้โดยตรง หน่วยความจำประเภทนี้แม้ไม่มีไฟเลี้ยงต่ออยู่ ข้อมูลก็จะไม่หายไปจากหน่วยความจำ  วงจรROM  การต่อ Z-80 กับสัญญาณ /CS ของ ROM การเลือก ROM ในจังหวะการอ่านนี้ ซีพียูต้องกำหนดได้ว่าจะเลือกแอดเดรสกลุ่มใด และจังหวะการเลือกนั้นจะต้องตรงกับการอ่านพอดี ดังนั้นจึงต้องนำเอาสัญญาณ /MEMR และสัญญาณเลือก ROMA มาทำการ OR กันอีกครั้ง เพื่อจะเลือก ROM ได้อย่างถูกต้อง วงจรที่ต่อ ROM แบบสมบูรณ์ในกรณีนี้แสดงได้ดังรูป การต่อ ROM หลายๆชิบ หากต้องการจะต่อ ROM หลายๆชิป เช่น ROMA,ROMB,ROMC และ ROMD ก็สามารถต่อเพิ่มได้ โดยใช้สัญญาณเลือกจาก 74LS138 และ /MEMR มาเลือกโดยผ่านทาง /CE และ /OE ได้ ดังแสดงในรูป  การใช้ ROM ในชิปที่มีความจุเพิ่มขึ้น ROM ที่ใช้ในปัจจุบันมีความจุสูงขึ้นมาก EPROM บางตัวมีความจุถึง 32 กิโลไบต์ เช่น EPROM ที่ใข้กันมากในขณะนี้ ได้แก่ เบอร์ 2764 (มีความจุ 8 กิโลไบต์) เบอร์ 27128 (มีความจุ 16 กิโลไบต์) ดังนั้นหากต้องการใช้ ROM ในชิปที่มีความจุเพิ่มขึ้นก็ทำได้ โดยใช้หลักการเช่นเดียวกัน ในที่นี้ขอให้ดูการจัดขาของ EPROM เบอร์ 2732 เมื่อเปรียบเทียบกับเบอร์ 2764 ซึ่งสามารถแสดงได้ดังรูป  EPROM เบอร์ 2732 มีจำนวนขาเท่ากับเบอร์ 2764 ดังนั้นการเพิ่มความจุจะกระทำได้โดยง่าย และสามารถใช้ซ็อกเกต (socket) เดิมได้ทันที หรือเพียงแต่แก้ขาแอดเดรสเพียงเส้นเดียว สังเกตว่าขาที่แตกต่างกันในที่นี้คือ EPROM เบอร์ 2764 ได้เพิ่มเติมอีก 4 ขา โดยเพิ่มส่วนบนเป็น A12 และขา PGM มาอยู่ที่ขา 27 ส่วนขา 26 ไม่ใช้ ความแตกต่างนี้เองทำให้การเพิ่มเติมลายวงจรทำได้ง่ายขึ้น โดยการต่อจากขา 26 มาที่ขา 28 เพื่อต่อสาย Vcc ดังแสดงในรูป  เมื่อจะต่อกับ EPROM เบอร์ 2732 เราสามารถขยายระบบโดยใช้ขาแอดเดรสของ EPROM เบอร์ 2732 จากแอดเดรส A0- A11ดังนั้นส่วนที่จะขยายจากซีพียู เราใช้ 74LS42 โดยนำแอดเดรส A12- A15 มาถอดรหัสดังแสดงในรู

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

MATV